การคำนวณ CBM และน้ำหนักจากขนาดสินค้า (Dimension Of Goods) สำหรับขนส่งทางเรือ (SEA) และ ทางอากาศ (AIR)

เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผู้นำเข้า-ส่งออกควรทราบครับ นั่นก็คือการคำนวณคิวและน้ำหนักจากขนาดสินค้า (Dimension Of Goods) สำหรับขนส่งสินค้าทางเรือ (Sea Freight) และ ทางอากาศ (Air Freight) ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้กันเป็นประจำครับ

ทั้งนี้ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับวิธีคำนวณคิวและน้ำหนักจากขนาดสินค้าตามที่บอกไปแล้วนั้น เราต้องมาทราบกันก่อนว่าค่าของหน่วยตัวแปรต่างๆที่จะนำไปใช้ในการคำนวณนั่นมีที่มาที่ไปอย่างไร

หน่วยวัดที่ต้องทราบก่อนการคำนวณคิวและน้ำหนักจากขนาดของสินค้า

1 เมตร = 100 เซนติเมตร

1 ฟุต = 30.48 เซนติเมตร

1 เซนติเมตร = 10 มิลลิเมตร

1 นิ้ว = 2.54 เซนติเมตร

1 กิโล = 2.2 ปอนด์

1 ตัน = 1 คิว

1 คิว = 167 กิโล *อ้างอิงจาก Ratio by Airfreight ( 1 : 6000 )*

1 คิว = 1 ลูกบาศก์เมตร = 1 ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร

และเมื่อเราทราบตัวแปลงค่าหน่วยต่างๆกันแล้ว ต่อไปนี้เราก็มารู้จักกับวิธีการคำนวณคิวและน้ำหนักจากขนาดสินค้า (Dimension Of Goods) กันครับ ซึ่งวิธีคำนวณก็มีมากมายหลากหลายตามแต่ความถนัดของแต่ละบุคคลครับ

 

1.การคำนวณคิวและน้ำหนักจากขนาดสินค้าหน่วยมิลลิเมตร (mm)

ตัวอย่าง : Cargo details 1Pallets น้ำหนัก 1200Kgs, Dim.W.1700mm x L.2500mm x H.1800mm

*เทียบหน่วย 10 มิลลิเมตร = 1 เซนติเมตร*

(W x L x H)/1ล้านcm3 = (170x250x180cm)/1,000,000 = 7.65cbm

จากโจทย์ตัวอย่าง สรุปได้ว่า:


*กรณีชิปเมนท์ทางเรือสินค้ามีขนาดพื้นที่ 7.65คิว , 1,200กิโล

*กรณีชิปเมนท์ทางแอร์สินค้ามีน้ำหนัก 1,277.55 กิโล (7.65×167=1,277.55) ซึ่งให้ยึดตามน้ำหนักที่คำนวณได้จากขนาดสินค้าโดยจะเรียกว่า “Chargeable weight หรือ Volume weight ” เพราะมีค่ามากกว่าน้ำหนักจริง”Gross Weight” ที่หนักแค่ 1,200 กิโลกรัมนั่นเอง

 

2.การคำนวนคิวและน้ำหนักจากขนาดสินค้าหน่วยเซนติเมตร (cm)
ตัวอย่าง : Cargo details 4Pallets น้ำหนัก 1,000Kgs/Pallets, Dim.W.70cm x L.100cm x H 120cm
(W x L x H)/1ล้านcm3 = [(70x100x120cm) x 4Pcs]/1,000,000 = 3.36cbm

จากโจทย์ตัวอย่าง สรุปได้ว่า:


*กรณีชิปเมนท์ทางเรือสินค้ามีขนาดพื้นที่ = 4 คิว (1ตัน=1คิว) และ 4,000กิโล


*กรณีชิปเมนท์ทางแอร์สินค้ามีน้ำหนัก = 4,000กิโล ซึ่งให้ยึดตามน้ำหนักสินค้าจริง เพราะว่าน้ำหนักจริง “Gross Weight” มีค่ามากกว่าน้ำหนัก “Chargeable weight” ที่คำนวณได้แค่ 150กิโลเท่านั้น (3.36×167=561)

 

3.การคำนวนคิวและน้ำหนักจากขนาดสินค้าหน่วยนิ้ว (inch)

ตัวอย่าง : Cargo details 3Pallets น้ำหนัก 650Kgs/Pallets, Dim. W.25x L.50x H.40

“เทียบหน่วย 1 นิ้ว = 2.54 เซนติเมตร

(W x L x H)/1ล้านcm3 = [(63.5×127×101.6cm) x 3Pcs]/ 1,000,000 = 2.46cbm

จากโจทย์ตัวอย่าง สรุปได้ว่า:
*กรณีชิปเมนท์ทางเรือสินค้ามีขนาดพื้นที่= 2.46 คิว และ 1,950กิโล
*กรณีชิปเมนท์ทางแอร์สินค้ามีน้ำหนัก=1,950กิโล ซึ่งให้ยึดตามน้ำหนักสินค้าจริง เพราะว่าน้ำหนักจริง “Gross Weight” มีค่ามากกว่าน้ำหนัก”Chargeable weight” ที่คำนวณได้แค่ 410.82 กิโลเท่านั้น (2.46×167=410.82)

 

เป็นไงบ้างครับจาก 3ตัวอย่างข้างต้นคงทำให้พอนึกภาพกันออกแล้วนะครับ ไม่ยากใช่ไหมครับ ทั้งนี้แต่ละค่า มีที่มากันยังไง และนำไปใช้อย่างไร สำคัญมากนะครับ เพราะการที่เรารู้ขนาดสินค้า น้ำหนักสินค้า จำนวนคิวสินค้า ที่ชัดเจนนั้น สามารถช่วยให้เราทราบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า และกำหนดราคาขายได้ถูกต้องครับ

 

 

 

 

 
 

บริการของเรา / ข่าวสาร / สาระน่ารู้ ใกล้เคียง

ขั้นตอนการเดินพิธีการ ตรวจปล่อยสินค้า ATA CARNAT ขาเข้า** เอกสารตัวจริงต้องมาก่อนเรือถึง **

กรมศุลกากร ปรับปรุงตารางเทียบประเภทย่อย  AHTN2017 - AHTN2022  และ AHTN2022 - AHTN 2017

Fumigate คืออะไร มีความจำเป็นอย่างไร และทำอย่างไร

7 Right (7R) Logistics คืออะไร

เขตประกอบการเสรี FREE (TRADE ZONE)และสิทธิประโยชน์

Link สำหรับเช็คเลขใบขนสินค้าที่มาทางสายการบิน


ติดต่อเรา

รายละเอียด

Buddy Freight International Co.,Ltd.
3656/13 Green Tower Floor 6 Unit L1, Rama4 Road,Klongton,Klongtoey,Bangkok 10110 ,Thailand.

: (+66) 2 367 3367-8

: (+66) 2 367 3368

: buddy@buddy-freight.com

: 08.30-17.00 น.