เขตประกอบการเสรี FREE (TRADE ZONE)

เขตประกอบการเสรี FREE( TRADE ZONE)

พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 จัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ. ไทยขึ้นเป็น รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมมีชื่อย่อว่า“กนอ.”มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหลายประการ โดย เริ่มจากการจัดหาที่ดินที่เหมาะสมเพื่อจัดตั้งหรือขยายนิคมอุตสาหกรรมหรือเพื่อดำเนินธุรกิจอื่นที่จะเป็นประโยชน์ ดำเนินการปรับปรุงที่ดินเพื่อให้บริการตลอดจนจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานรวมทั้งสาธารณูปโภค ให้แก่ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น2ลักษณะคือ พื้นที่เขตอุตสาหกรรมทั่วไป อันเป็นเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบกิจการอุตสาหกรรมและกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรม

พื้นที่เขตอุตสาหกรรมส่งออก อันเป็นเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม บริการ เพื่อส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศและกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมการค้าหรือบริการเพื่อส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
ในปัจจุบันเขตอุตสาหกรรมส่งออก ที่มีสำนักงานศุลกากรตั้งอยู่มี 10 แห่งได้แก่

1.นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง (กรุงเทพฯ)
2. นิคมอุตสาหกรรมบางปู (สมุทรปราการ)
3.นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ (ลำพูน)
4.นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง (ชลบุรี)
5.นิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน (ชลบุรี)
6.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (อยุธยา)
7.นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน (อยุธยา)
8.นิคมอุตสาหกรรมแปลงยาว (เกตเวย์ซิติ ฉะเชิงเทรา)
9.นิคมอุตสาหกรรมส่งออกภาคใต้ (สงขลา)
10.นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร (พิจิตร)

โดยที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากรแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมศุลกากรซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลและรับผิดชอบในเรื่องภาษีอากรของรัฐและเพื่อการส่งเสริมการส่งออกแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั่วไปและเขตอุตสาหกรรมส่งออก จึงต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติสำหรับการปฏิบัติในอุตสาหกรรมไว้

พิธีการศุลกากรที่ควรทราบสำหรับผู้ประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรม

(1) พิธีการศุลกากรในเขตอุตสาหกรรมส่งออก

1.1 ผู้ประกอบการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าเพื่อนำของเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออกโดยต้องมีหนังสือจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ว่าเป็นผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกแนบมาด้วยส่วน กรณีเป็นการนำเข้าตามมาตรา 48 แห่งพ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522.ศ.ต้องมีหนังสือยกเว้น อากรจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพิ่มเติมด้วย

1.2 ผู้นำของเข้าซึ่งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ประกอบกอบอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขนย้ายสินค้าจะต้องทำหนังสือสัญญาประกันไว้กับกรมศุลกากรตามแบบที่กำหนดและการขนส่งต้องไปตามเส้นทางที่กรมศุลกากรกำหนดด้วย

(2) พิธีการศุลกากรในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป ถ้าผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปประสงค์จะปฏิบัติพิธีการ ณ สำนักงานศุลกากรประจำอุตสาหกรรมให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับพิธีการศุลกากรในเขตอุตสาหกรรมส่งออก โดยมีหลักฐานแสดงว่า ผู้ประกอบการเขตอุตสาหกรรมทั่วไปของการนิคมอุตสาหกรรมมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

(3) ความรับผิดชอบในการขนสิ่งออกจากท่าหรือที่นำเข้ามายังนิคมอุตสาหกรรม ผู้นำของเข้าจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดความเสียหายต่อค่าภาษีอากร ค่าภาระติดพันหรือความเสียหายอื่นใดตามที่ได้ทำสัญญาประกันไว้ต่อกรมศุลกากร

(4) การนำของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกเพื่อใช้หรือจำหน่ายในประเทศ

4.1 ผู้ประกอบการสามารถนำของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกเพื่อใช้หรือจำหน่ายในประเทศได้ โดย ภาระหน้าที่ในการชำระค่าภาษีอากรต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและหนังสืออนุญาตการนำของออก อุตสาหกรรมส่งออกเพื่อใช้หรือจำหน่ายในประเทศของ กนอ. ต่อสำนักงานศุลกากรประจำนิคมฯ

4.2 สำหรับบัญชีราคาสินค้า ให้สำแดงราคาซื้อขายเป็นเงินบาท โดยกรมศุลกากรจะดำเนินการกับใบขนสินค้าขาเข้าเสมือนหนึ่งการนำของเข้าจากต่างประเทศ และของนั้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า และภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย และภาษีมูลค่าเพิ่มตามสภาพ ราคา และ อัตราภาษีอากรที่เป็นอยู่ในวันที่นำของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก โดยถือเสมือนว่าได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรในวันที่นำออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก

4.3 ราคาพึงประเมินหรือราคาที่ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณค่าภาษีอากร สำหรับเขตอุตสาหกรรมองที่นำออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก เพื่อใช้หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรนั้น ให้ใช้ราคาศุลกากร2แห่งตามมาตรา พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469

(5) การส่งของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกไปแสดงต่างประเทศโดยส่วนราชการ

5.1 ผู้ประกอบการสามารถนำของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกเพื่อส่งออกไปแสดงต่างประเทศโดยส่วนราชการ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจาก กนอ. ให้ส่งของไปแสดง ณ ต่างประเทศในนามของส่วนราชการ และยื่นคำขอตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด พร้อมสำเนา 1 ฉบับ ต่อหน่วยงานพิธีการประจำนิคม อุตสาหกรรมตรวจสอบ พร้อมทั้ง ทำสัญญาประกันต่อกรมศุลกากรตามแบบที่กำหนด ทั้งนี้ เงินประกันตามสัญญา ประกันจะต้องให้คุ้มค่าภาษีอากรของของตามรายการในหนังสือที่ยื่นต่อกรมศุลกากรโดยบวกเพิ่มอีกร้อยละ 20 และ ให้ผู้ประกอบการค้าประกันตนเองได้

5.2 เมื่อสำนักงานศุลกากรประจำนิคมอุตสาหกรรม พิจารณาอนุญาตแล้วจะคืนต้นฉบับหนังสือคืนแก่ ผู้ประกอบการเพื่อใช้กำกับของที่นำออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกนำส่งมอบต่อส่วนราชการเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร

5.3 เมื่อส่วนราชการนั้น ๆ ได้ส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ผู้ประกอบการต้องยื่นหนังสือรับรองส่วนราชการนั้นว่าได้ส่งของออกไปจริงต่อสำนักงานศุลกากรประจำนิคมอุตสาหกรรม ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ส่วนราชการนั้น ๆ ได้ส่งของออก มิฉะนั้น ให้ถือว่าผิดสัญญาประกันและกรมศุลกากรจะดำเนินการบังคับสัญญาทันที

(6) การนำของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกเพื่อการอื่นเป็นการชั่วคราว

6.1 ผู้ประกอบการสามารถนำของในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกเป็นการ ชั่วคราว เพื่อซ่อมแซม ดัดแปลง ปรับปรุง หรือเพื่อการอื่นตามความจำเป็น ได้โดยยื่นคำร้องต่อสำนักงานศุลกากร ประจำนิคมอุตสาหกรรม และทำสัญญาประกันต่อกรมศุลกากร ตามแบบที่กำหนด ทั้งนี้ เงินประกันตามสัญญาประกันจะต้องให้คุ้มค่าภาษีอากรของตามรายการในคำร้อง โดยบวกเพิ่มอีก ร้อยละ 20

6.2 กรณีผู้ประกอบการไม่สามารถนำของที่นำออกไปจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกกลับเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามคำรับรองที่ให้ไว้ผู้ประกอบการนั้นสามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลานำของกลับ เขตอุตสาหกรรมส่งออกได้เพียงครั้งเดียว และมีระยะเวลาไม่เกินกว่าที่ขอนำของออกไปในครั้งก่อนเว้นแต่มีเหตุอันสมควรก็ให้ขยายระยะเวลาเกินกว่า 1 ครั้ง

6.3 ถ้าผู้ประกอบการรายใดไม่ปฏิบัติตามคำรับรองที่ให้ไว้ ผู้ประกอบการรายนั้นต้องชำระค่าภาษี เงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน นับจากวันที่นำของออกจนถึงวันที่นำเงินมาชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ครบกำหนด

(7) การนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออกผู้ประกอบการสามารถการนำสินค้า ราชอาณาจักรเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออกได้โดยยื่นคำร้องขอนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตอุตสาหกรรม ส่งออก(กศก122). ต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำนิคมอุตสาหกรรม

(8) ของที่นำเข้าเขตอุตสาหกรรมส่งออกเพื่อซ่อมและนำกลับออกไปโดยยกเว้นอากรตาม พ.ร.บ. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภท 2 จะต้องเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยชำระภาษีอากรครบถ้วนแล้ว และจะต้องได้รับอนุญาตจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ด้วย


(9) ของที่นำเข้าเขตอุตสาหกรรมส่งออกและนำกลับเข้ามาในราชอาณาจักร โดยได้รับยกเว้นอากร ของในราชอาณาจักรหรือของจากต่างประเทศที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและได้ชำระอากรแล้ว เขตหากนำเข้าใน อุตสาหกรรมส่งออก และภายหลังนำออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกกลับเข้ามาใช้ในราชอาณาจักร โดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปร่างแต่อย่างใด จะได้รับการยกเว้นอากร ทั้งนี้ จะต้องมีหนังสืออนุญาตจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมาแสดงด้วย

 

สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรสำหรับผู้ประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรม

(1) ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม สรรพสามิตสำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งของดังกล่าว ผลิตและของที่ใช้ในการสร้างโรงงาน หรืออาคาร

(2) ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนรวมทั้งอากรขาเข้าภาษีมูลค่าภาษีสรรพสามิตสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า

(3) ได้รับยกเว้นอากรขาออกภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตสำหรับของซึ่งได้นำเข้าตามมาตามมาตรา49แห่ง พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 รวมทั้งผลิตภัณฑ์สิ่งพลอยได้และสิ่งอื่นที่ได้จากการผลิตแล้วส่งออก

(4) ได้รับยกเว้นหรือคืนค่าภาษีอากรสำหรับของที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ได้รับยกเว้น หรือคืนค่าภาษีอากร เมื่อได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ หากผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นอากรสำหรับวัตถุดิบตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 หรือผู้ประกอบการที่เป็นคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้าตามมาตรา8ทวิ (2) แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 หรือผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิคืนอากรตามมาตรา19ทวิ แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่9) พ.ศ.2482 ส่งของเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก จะได้รับยกเว้นค่าภาษีอากร หรือคืนค่าภาษีอากรเช่นเดียวกับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

(5) ของที่นำเข้าไปในเขตประกอบการเสรีได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับเขตปลอดอากร

(6) ของ ผลิตภัณฑ์ สิ่งพลอยได้ และสิ่งอื่นที่ได้จากการผลิตในเขตประกอบการเสรีที่นำออกจากเขตประกอบการเสรีและต้องเสียภาษีอากร ไม่ต้องนำราคาของวัตถุดิบภายในราชอาณาจักรที่นำเข้าเข้าไปในเขตประกอบการเสรีเพื่อผลิต ผสมประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดที่ไม่มีสิทธิได้รับการคืน หรือ ยกเว้นอากร มาคำนวณค่าภาษีอากรตามมาตรา 52/1 แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550

(7) การนำของเข้ามาในประเทศ หรือวัตถุดิบภายในประเทศ และนำเข้าไปในเขตประกอบการเสรีเพื่อผลิต ผสม ประกอบบรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออก ให้ยกเว้นไม่อยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการนำเข้าการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การครอบครอง หรือ การใช้ประโยชน์ การควบคุมมาตรฐาน หรือคุณภาพ การประทับตราหรือเครื่องหมายใด ๆ แก่ของนั้น แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงกฎหมายว่าด้วยศุลกากร แต่ถ้าของดังกล่าวก่อให้เกิด หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง สุขภาพอนามัยของประชาชน สิ่งแวดล้อม หรือมีพันธกรณีตามข้อผูกพันตามสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดชนิด หรือประเภทของของนั้นมิให้ได้รับยกเว้นตามกฎหมายดังกล่าวด้วยก็ได้ มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522

                                                                                     ขอบคุณแหล่งที่มา : กรมศุลกากร

 

 
 

บริการของเรา / ข่าวสาร / สาระน่ารู้ ใกล้เคียง

ขั้นตอนการเดินพิธีการ ตรวจปล่อยสินค้า ATA CARNAT ขาเข้า** เอกสารตัวจริงต้องมาก่อนเรือถึง **

กรมศุลกากร ปรับปรุงตารางเทียบประเภทย่อย  AHTN2017 - AHTN2022  และ AHTN2022 - AHTN 2017

Fumigate คืออะไร มีความจำเป็นอย่างไร และทำอย่างไร

7 Right (7R) Logistics คืออะไร

ตัวอย่างการคำนวณ CBM และน้ำหนักจากขนาดสินค้า สำหรับขนส่งทางเรือ

Link สำหรับเช็คเลขใบขนสินค้าที่มาทางสายการบิน


ติดต่อเรา

รายละเอียด

Buddy Freight International Co.,Ltd.
3656/13 Green Tower Floor 6 Unit L1, Rama4 Road,Klongton,Klongtoey,Bangkok 10110 ,Thailand.

: (+66) 2 367 3367-8

: (+66) 2 367 3368

: buddy@buddy-freight.com

: 08.30-17.00 น.