พิธีการศุลกากรขาเข้า

Import Customs Clearance

บริการเดินพิธีการศุลกากรขาเข้า (ชิปปิ้งขาเข้า)

เมื่อสินค้าถึงประเทศปลายทาง ผู้นำเข้าจะต้องนำส่งเอกสารแจ้งรายการสินค้านำเข้าและชื่อผู้นำเข้าแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรของประเทศนั้นๆ สินค้าที่จะนำเข้านั้นจะยังไม่ถูกนำเข้าอย่างถูกกฎหมาย จนกว่าสินค้าจะถูกส่งถึงท่าเรือ หรือ ท่าอากาศยานปลายทาง โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรของประเทศนั้นๆ และชำระภาษีอากรขาเข้าเรียบร้อยแล้วเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นการนำเข้าอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งผู้นำเข้ามีหน้าที่ในการจัดเตรียมเอกสารให้ทางเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบและนำสินค้าออกจากท่าเรือหรือสนามบินปลายทาง
สำหรับสินค้าที่ต้องการนำเข้าประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นทางเครื่องบิน ทางเรือ หรือทางรถ ทางบริษัทวี-เฟรนด์ มีบริการเคลียร์สินค้า (ชิปปิ้ง) เคลียร์ภาษีหรืออากรขานำเข้า และเป็นตัวแทนท่านในการออกของ เราสามารถให้คำปรึกษาท่านในเรื่องภาษีและอากรขาเข้าสำหรับสินค้าทุกประเภท ให้ความสะดวกท่านในการเคลียร์สินค้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ติด มอก., สมอ., อ.ย. หรือ ใบอนุญาตนำเข้าต่างๆ สินค้าประเภทเครื่องจักรและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อะไหล่รถยนต์และมอเตอร์ไซด์ เป็นต้น

เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าสินค้า
  1. บัญชีราคาสินค้า (Comercial Invoice)
  2. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ P/L (Packing List)
  3. ใบตราส่งสินค้า B/L (Bill of Lading or Air Waybill)
  4. ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice)
  5. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า
  6. ​ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) กรณีขอลดอัตราอากร

ขั้นตอนการนำเข้า

  1. ต้องรู้เทมอ การซื้อ ขาย FOB / CIF ,C&F, CFR ,/ ( FCA shipper จะ ทำแค่ shipping ) Ex-work )
  2. ทำการ ยืนยัน ใบเสนอ ราคาๆ ค่าบริการ ที่จะเกิดขึ้นก่อนดำเนินพิธีการใดๆ
  3. ตรวจสอบสินค้า ให้ลูกค้า ว่าพิกัด ใด ต้องเสียภาษี เท่าไร ติดใบอนุญาต หรือ สินค้า ห้ามนำเข้า /ก่อน
  4. ถ้า FOB ต้องทำการ ติดต่อ กับ ทาง  buddy freight เพื่อทำการ ติดต่อ ประเทศผู้ส่ง เพื่อทำการจองเรือ ให้ตัวแทนของเรา ประสานงานให้
  5. เอกสาร ที่ ต้องการ ให้ ประสานงาน คือ P/O ,PI / ชื่อ เบอร์โทร คนติดต่อ ที่ต้นทาง เพื่อให้ตัวแทนของเรา ติดต่อ และส่งสินค้าไม่ผิด order  
  6. ทำการ สอบถามกับผู้นำเข้าได้ลงทะเบียน กับ กรมศุลกากร ไว้หรือยัง ถ้ายัง ให้งทะเบียน แนบ 1 หรือ แนบ 7 ถ้าลงแล้ว ทำการมอบอำนาจในระบบกรมศุลกากรให้ บัดดี้ ทำการสามารเดินพิธีการ ขาเข้าได้
  7. ทำการ จองเรือแล้ว รอ ตรวจสอบ เอกสาร ทั้งหมด( draft B/L, invoice packing ( form FTA ถ้ามี) ก่อน เรือออก
  8. การตรวจเอกสาร ข้อมูล ที่ใช้ในการ ตรวจ เอกสาร ต่างๆ ต้องตรงกัน 3 อย่าง ทุกข้อความ B/L, invoice packing ( form FTA ถ้ามี)
  9. เมื่อเรือออก หรือ มีการ delay  ต้องแจ้งลูกค้า ทุก ขั้นตอน
  10. ยื่นใบอนุญาตต่างๆก่อนเรือเข้า ( ถ้ามี เช่น อย. เกษตร ประมง กรมป่าไม้ หรือ สมอ กรมอุตสาหกรรม)
  11. ก่อนเรือจะถึงประเทศไทย 2-4 วัน ต้องทำการ Enter กับสายเรือ (ทำการยื่นยันข้อมูลที่มีกับกรมศุลกากร และ สายเรือ )
  12. ทำการ draft ใบขน เพื่อส่งยอดเบิกภาษีนำเข้าต้องเสียเท่าไร และรวมถึงรวบรวมเอกสาร ตัวจริงทั้งหมดเพื่อเตรียมเดินพิธีการ
  13. เรือถึง เช็ค status B/L / Original or surrender เพื่อ ทำการ ไปจ่ายค่าlocal change กับสายเรือและ แลกB/L เป็น D/O ไว้ตรวจปล่อย
  14. ถ้ามาแบบ LCL คือรวมตู้ กับคนอื่น ต้องรอ ตู้เปิด 3-5 วัน แล้วแต่สถานณ์การ ณ เวลานั้น เช่น ติดวันหยุดยาว โกดังเต็ม ฝนตก หรือ อื่นๆ อาจเปิดตู้เร็ว 1-2 วันก็อาจเป็นไปได้  ( เมื่อเรือเทียบท่าและไม่ติดวันหยุด )
  15. ถ้ามาแบบ FCL คือลากตู้ สามารถ ส่งสินค้า ได้ภายใน 1-2 วัน ( เมื่อเรือเทียบท่าและไม่ติดวันหยุด )
  16. เอกสารครบ คือ D/O, ใบขนสินค้าขาเข้า ,แคทเชียร์เช็คค่าภาษี  B/L ,invoice ,packing ,(form FTA ถ้ามี ) (ใบอนุญาต ถ้ามี )
  17. ถ้าสินค้า ติดใบอนุญาต ต่าง ต้องใช้เวลาเดินก่อน 1 วันหรือ อาจจะตรวจปล่อยได้ เลย ต้องดู เรื่องเอกสารและ คนเยอะในการรอคิว ตรวจ
  18. ถ้าเดินพิธีการปกติ  ใช้เวลา 1 วัน ในการ ตรวจปล่อย  การคิดค่าภาระหรือค่าเช้าโดกัง ของการท่าเรือ แตกต่างกัน ขึ้นอยู่ ท่าเรือนั้นๆ
  19. สินค้า / FCL ปล่อยเช้า ส่ง บ่ายได้ หรือไม่ก็ต้องส่งถึงโรงงานเช้าวัยทัดไป แต่ถ้า LCL ต้องตรวจแล้วส่งให้ลูกค้าในวันเดียว กันเลย
  20. ทำการส่งวางบิล เครติด ขึ้นอยู่กับการตกลงกันก่อน ให้บริการ
  21. ถ้า CIF ,C&F, CFR **ยื่นยันราคาค่าบริการก่อนเดินพิธีการทุกครั้ง
  22.  รอเอกสารจากเมือง นอก และ รอเรือเข้า เช็คได้เมื่อเอกสาร B/L ครบ และทำต่อ ที่ข้อ 10 ตามลำดับ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พิธีการศุลกากรขาออก
Export Customs Clearance

บริการเดินพิธีการศุลกากรขาออก (ชิปปิ้งขาออก)

สินค้าที่ส่งออกจากประเทศไทย ต้องผ่านพิธีการศุลกากรขาออก เคลียร์ภาษีหรืออากรขาออก (ชิปปิ้ง) ซึ่งเป็นการรายงานต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรว่า มีสินค้าอะไรบ้าง ใครเป็นผู้ส่งออก และส่งไปที่ใด การส่งออกสินค้าบางประเภท จำเป็นจะต้องใช้เอกสารเพิ่มเติม เพื่อใช้สำหรับเดินพิธีการศุลกากรที่ประเทศปลายทางเราจะจัดเตรียมเอกสารให้ท่านเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
  • เอกสารรับรองการรมยาไม้ Fumigation Certificate : ใช้สำหรับการส่งออกสินค้าที่ทำจากไม้ และลังไม้
  • เอกสารรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Certificate of Origin (C/O) : สำหรับสินค้าที่เป็นผ้า (ส่วนมากสำหรับส่งออกสินค้าที่ทำจากผ้าไปประเทศในแถบยุโรป)
  • เอกสารรับรองสุขอนามัยพืช Phytosanitary Certificate : สำหรับสินค้าการเกษตร เช่นต้นไม้ และสำหรับสินค้าที่ทำจากไม้ ที่จะนำเข้าประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
  • ISF Filling Form for USA : สำหรับทุกชิปเม้นท์ที่ส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกาทางเรือ
  • AFR Filling Form for Japan : สำหรับทุกชิปเม้นท์ที่ส่งออกไปญี่ปุ่นทางเรือ
เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการส่งออกสินค้า
  1. บัญชีราคาสินค้า (Comercial Invoice)
  2. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ P/L (Packing List)
  3. ใบตราส่งสินค้า B/L (Bill of Lading or Air Waybill)
  4. ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่นใดสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก

​​​​ที่มา www.customs.go.th

ขั้นตอนการส่งออก 

1.เช็คข้อมูลกับกรมศุลกากรว่ามีข้อมูลผู้ส่งออก กับกรมศุลกากร (paperless) ทำการ เพิ่มข้อมูลก่อนส่งออก

2. จัดทำใบขนสินค้าขาออก ที่ได้รายละเอียดจาก( invoice packing )ผู้สางออก / และใบกำกับสินค้า / 

3.จองรถเพื่อไปรับตู้เปล่าไปบรรจุสินค้า ที่สถานที่ของผู้ส่งออก (FCL) และนำสินค้าไปยังที่ท่าเรือส่งออก  ส่วน ( LCL) นำสินค้าไปโหลดสินค้าที่ท่าเรือ ที่ได้ทำการจองไว้กับสายเรือ 

4.เช็คสถานะ เปิดตรวจ หรือ ยกเว้นการตรวจ / ถ้าเปิดตรวจ ต้องเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ นายตรวจ กรมศุลกากร เพื่อ พาไปตรวจสินค้า  

5.รอเรือออก สถานะ เป็น 0409 เป็นการจบสมบรูณ์ 

 

 
 

บริการของเรา / ข่าวสาร / สาระน่ารู้ ใกล้เคียง

ขั้นตอนการเดินพิธีการ ตรวจปล่อยสินค้า ATA CARNAT ขาเข้า** เอกสารตัวจริงต้องมาก่อนเรือถึง **

กรมศุลกากร ปรับปรุงตารางเทียบประเภทย่อย  AHTN2017 - AHTN2022  และ AHTN2022 - AHTN 2017

Fumigate คืออะไร มีความจำเป็นอย่างไร และทำอย่างไร

7 Right (7R) Logistics คืออะไร

เขตประกอบการเสรี FREE (TRADE ZONE)และสิทธิประโยชน์

ตัวอย่างการคำนวณ CBM และน้ำหนักจากขนาดสินค้า สำหรับขนส่งทางเรือ


ติดต่อเรา

รายละเอียด

Buddy Freight International Co.,Ltd.
3656/13 Green Tower Floor 6 Unit L1, Rama4 Road,Klongton,Klongtoey,Bangkok 10110 ,Thailand.

: (+66) 2 367 3367-8

: (+66) 2 367 3368

: buddy@buddy-freight.com

: 08.30-17.00 น.